ประวัติการปกครองของไทย

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย






กรุงสุโขทัย





            "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส"             กรุงสุโขทัยเป็นอดีตราชธานีของไทย มีความเจริญรุ่งเรือง และนับเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ที่สำคัญของไทย






 
           
กรุงสุโขทัยตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง และประวัติศาสตร์ที่มีกรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง จะเริ่มตั้งแต่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา และในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางท่าว) ได้ สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น

 
            สุโขทัย หมายถึง รุ่งอรุณแห่งความสุข ของชาวไทยในอดีตเมื่อ 700 ปี ที่ผ่านมา เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีความ อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว การเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย นับว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานของชาติไทยในสุวรรณภูมิ อย่าง เป็นปึกแผ่น และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน







สภาพความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยจากศิลาจารึก


 
     
             
 สุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มีที่ดินทำกินมากมาย ชาวเมืองปลูกต้นไม้รอบนอกตัวเมืองสุโขทัย
ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ปลูกสวนหมาก สวนพลู สวนมะม่วง สวนมะขาม ทิศตะวันตก
ปลูกสวนมะม่วง ทิศเหนือ (เบื้องปลายตีนนอน) ปลูกสวนมะพร้าว และสวนหมากลาง (ขนุน) ส่วนทิศใต้
(เบื้องหัวนอน) ปลูกทั้งสวนมะม่วง สวนมะขาม สวนมะพร้าว และสวนหมากลาง ดังกล่าวไว้ในศิลาจารึก
หลักที่ 1 ว่า


            กลางเมืองสุโขไทนี้มีพระพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพระพิหารอันใหญ่ มีพระพิหารอันราม มีปู่ครู..... มีเถร
มีมหาเถร
            เบื้องตะวันตกเมืองสุโขไทยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแห่งกระทำอวยทานแก่มหาเถร
สังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร.....
            เบื้องตะวันออกเมืองสุโขไทนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนา
มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงป่าขาม ดูงามดังแกล้งแต่ง
            เบื้องตีนนอนเมืองสุโขไทนี้ มีตลาดปสาน มีพระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว
ป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่ฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก
            เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฎีพิหารปู่ครูอยู่  มีสรีดภงส์ มีป่าลาง มีป่าม่วงป่าขาม
มีน้ำโคก มีพระขะพุงผี.....
            สังคมชาวเมืองสุโขทัย เป็นสังคมที่เรียบง่าย เพราะประชาชนมีจำนวนไม่มาก
จึงใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง และเคารพพระมหากษัตริย์ดุจบุตรที่มีความเคารพ
ต่อบิดาของตน ส่วนพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ทรงเข้าถึงจิตใจ
 และให้ความใกล้ชิดและเป็นกันเองกับราษฎร เมื่อราษฎรมีเรื่องทุกข์ร้อนก็สามารถกราบบังคมทูล
ได้ด้วยตนเอง โดยการมาสั่นกระดิ่งที่ ประตูไม่ว่าจะเป็นเวลาใด พระองค์จะเสด็จมารับฟังทุกเรื่อง
ด้วยพระองค์เอง ด้วยดังปรากฏในหลักศิลาจารึก ด้านที่ 1 ว่า " ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น
 ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มันจัก กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้
ปลั่นกระดิ่ง และศิลาจารึก ด้านที่ 3 ว่า " ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัย
สุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ถือบ้านถือเมือง "


นอกจาก นั้น ชาวสุโขทัยมีความยึดมั่นและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อยู่ในศีลในธรรม
และปฏิบัติกิจการทางศาสนาเป็นประจำ เช่น มีการฟังเทศน์ ฟังธรรม รักษาศีล ทำบุญให้ทาน
 สร้างวัด ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "วันเดือนดับ เดือนออก แปดวัน วันเดือนเต็ม
เดือนบ้าง แปดวัน ฝูงปู่ครู มหาเถรขึ้น นั่งเหนือขะดารหิน สวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล
" และอีกตอนหนึ่งว่า "คนในเมืองสุโขไทนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน " เมื่อพระพุทธศาสนา
ข้าถึงจิตใจ ประชาชนจึงเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณาต่อ ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ดังเช่น " ได้ข้าเลือก
ข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่อฆ่าบ่ตี " เป็นต้น ดังนั้น ชาวสุโขทัยจึงอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
ประกอบกับเมืองสุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เพราะในน้ำมีปลา ในนามีข้าว จึงไม่มีการแก่งแย่ง
 มีแต่ความเสมอภาพเท่าเทียมกัน และได้รับความเป็นธรรมโดยทั่วหน้า" ด้านการศึกษาในสุโขทัย
 จะเป็นแนวสั่งสอนศีลธรรมและวิชาชีพ คือในวันพระหรือวันโกน พ่อขุนรามคำแหงจะประทับบน
พระแท่นมนังคศิลากลางดงตาล สั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน ทั้งยังได้ติดต่อช่างชาวจีนมา
สอนการทำเครื่องสังคโลก ส่วนวิชาชีพ และงานบ้าน งานเรือนต่าง ๆ มีการเรียนรู้และศึกษา
จากผู้ใหญ่บ้านของตน

<> 


       ประชาชนชาวสุโขทัย นอกจากจะมีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน แล้ว
ยังมีอาชีพทำถ้วยชามสังคโลกขาย เพราะได้พบเตาทุเรียง มากมาย
รวมทั้งยังขุดพบเศษถ้วยชามที่แตกชำรุด พร้อมทั้งวัสดุในการช่วยทำ
ตลอดจนพบซากเรือสำเภาที่บรรทุกเครื่องสังคโลก จมอยู่แถบเกาะสาก
จังหวัดชลบุรี ที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการนำถ้วยชาม ส่งไปขายยังต่างประเทศ 
                 สำหรับการค้าขายในเมือง สุโขทัย พ่อขุนรามให้เสรีภาพทางการค้าอย่างเต็มที่ 
ทั้งยังยกเลิกการเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศ ซึ่งทำให้มีพ่อค้าเข้ามาทำการค้าขาย
มากขึ้น ตามหลักศิลาจากรึกล่าวไว้ว่า "เจ้าเมืองบ่เอา จกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า
ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า"
การ ค้าขายในสุโขทัยตามปกติ นิยมซื้อขายแบบแลกเปลี่ยนสินค้าตามความพอใจ
โดยจะตกลงซึ่งกันและกัน นอกจากไม่มีสินค้า ที่พอใจ หรือผู้นั้นมิได้เป็นผู้ค้าขายสินค้า
 จึงจะใช้เงินและเงินตราในสมัยนั้น จะใช้โลหะ เงินแท้ ทองคำแท้ และที่ต่ำสุดคือเบี้ย
ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เบี้ยนั้นจะเป็นหอยขนาดเล็กคล้ายหอยสังข์ โดยจะเห็นได้ในค่าตอบแทน
แก่ขุนนางทั้งหลายในสมัยต่อมา ที่เรียกกันว่า "เบี้ยหวัดเงินปี"


ความรุ่งโรจน์ของกรุงสุโขทัย
















แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 200 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
"กลาง เมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้"
กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีเถร มหาเถร.."


               ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น
 "มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่
บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง..."



นอก จากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง
 ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ
สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอด
เยี่ยมของสุโขทัย คือ สรีดภงส์ พร้อม กับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ
 แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง ตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์
ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม




ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็น จำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่า ถึง 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
การขนส่งเครื่องปั้น ดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย



ในด้านการค้า ได้ทรงเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้น ที่เรียกว่า" ตลาดปสาน "เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งแดนใกล้ แดนไกล นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศ สนใจนำสินค้ามาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ทำให้ชาวสุโขทัย รู้จักติดต่อกับคนต่างเมือง ต่างภาษา รู้จักวัฒนธรรมของเมืองอื่น ดังศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า
"เจ้า เมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...."
ในด้านการปกครอง
















สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า "ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝู่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า
"หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."
การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
ด้วย กรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ปี พ.ศ. 1866 รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย
ในด้านพุทธศาสนา
















พ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิต
















ชนชาติไทย นิยมเลื่อมใสในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) ผสมผสานกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มาแต่บรรพกาล จนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงอัญเชิญศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระองค์ทรงยึดมั่นในทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง จึงทำให้บรรดาข้าราชการและราษฎร พากันยึดถือเป็นแบบตามพระเจ้าแผ่นดินไปด้วย
ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขไท ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุน ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ทรงโปรดให้สร้าง ขดารหินมนังษีลาบาตร ในป่าตาลขึ้น เป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น "อาสน์สงฆ์" สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษาสูงระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่ง แสดงธรรมแก่อุบาสก บรรดาชาวเมืองพากันถือศีลในวันพระ
พระยา เลอไท ซึ่งเป็นราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระราชบิดา ได้นำ แบบอย่างพระพุทธศาสนา " ลัทธิลังกาวงศ์ " มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังแก่ชาวสุโขทัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาอีกมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน


การสงครามของอาณาจักรสุโขทัย
ในแผ่นดินของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกกองทัพไปช่วย และมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย

ขุนสาม ชนเจ้า เมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กู ขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน"
จน ถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
1. ใช้กำลังทางทหาร   ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว
เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน
เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต  ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ   เช่น  ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
อวสานกรุงสุโขทัย
ใน รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมือง เป็นเวลาที่ไทยตั้งตัวใหม่ ๆ ต้องทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอม สามิภักดิ์ โดยพ่อขุนรามคำแหง นำทัพออกปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ชายพระราชอาณาเขต อาณาจักรของกรุงสุโขทัย จึงตกอยู่ในความสงบสุขตลอดมา
















จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพ่อขุมราม คำแหง  ขึ้นครองราชย์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง เจริญรุ่งเรืองกว่ารัชกาล อื่น ๆ ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระเจ้าเลอไท พระ ราชโอรสได้ครองราชสมบัติ ปรากฏตามพงศาวดารพม่าได้กล่าวไว้ว่า "เมื่อ พ.ศ. 1873 หัวเมืองมอญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนราม กลับเป็นขบถตั้งแข็งเมือง พระเจ้าเลอไท ส่งกองทัพออกไปปราบปราม แต่ไม่สามารถเอาชนะได้"
ต่อมา พระยาลือไท ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเลอไท พระราชบิดา ทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาลิไทย" เป็นกษัตริย์ที่ทรงมุ่งทำนุบำรุงอาณาจักรสุโขทัย แต่ในทางธรรมอย่างเดียว ทำให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้ได้ ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงตั้งแข็งเมืองและประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 เป็นต้นมา ขุนหลวงพะงั่ว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา และได้ส่งกองทัพมาทำสงครามตีเมืองต่าง ๆ 7 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1914-1921 แต่ไม่สามารถตีหักเข้าเมืองได้
จนกระทั่ง "พระเจ้าไสยลือไท" (พระมหาธรรมราชาที่ 2) ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ซึ่งพระเจ้าไสยลือไทย เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงั่วไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรงพระราชดำริว่า "ถ้าหากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงั่วไม่ได้" จึงทรงยอมอ่อนน้อมต่อขุนหลวงพะงั่วโดยดี และนับแต่นั้นมา กรุงสุโขทัยก็สูญเสียเอกราช กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาตลอดไป


ประเพณีที่สำคัญในกรุงสุโขทัย
ประเพณีลอยกระทง
















วันลอยกระทง ณ กรุงสุโขทัยโบราณนั้น เป็นพิธีใหญ่ และครึกครื้นมาก จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง โดยบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักแขวน และลอยกันทั่วนคร ข้าราชการและนางสนมกำนัลต่างทำโคม ร้อยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปลวดลายวิจิตรพิสดาร เข้าประกวดกัน
นางนพมาศ ซึ่งเป็นข้าพระบาทสมเด็จพระร่วง จึงได้ทำโคมเข้าประกวด โดยแต่งโคมให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมทั้งปวง โดยประดับเป็นรูปดอกกระมุท สมเด็จพระร่วงเจ้า พอพระทัยมาก จึงประกาศว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีจองเปรียง แล้ว ก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท อุทิศสักการะบูชา พระพุทธมหานัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
พระราชพิธีจองเปรียงนี้ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป และถ้าเป็นพิธีของชาวบ้านราษฎรทั่วไปเรียกว่า ลอยกระทง
ประเพณีกรานกฐินเดือนสิบสอง
















งานประเพณีเมืองสุโขทัยในสมัยพ่อ ขุนรามคำแหง เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในวันทางศาสนาพุทธ คือวันออกพรรษาซึ่งถือเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในระหว่างวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามที่ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1
กรานกฐินของ สุโขทัยจะมีเป็น เวลา 1 เดือน นับจากวันออกพรรษา และจะถือว่าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันแม่งานและเป็น วันสุดท้ายของฤดูกาลกรานกฐิน ในวันนี้ชาวสุโขทัยจะพากันมาร่วมขบวนแห่ เพื่อนำองค์กฐินไปยังวัดอรัญญิก เพื่อร่วมถวายผ้ากฐิน และร่วมฟังสวดญัตติกฐิน เมื่อเสร็จพิธีก็จะแห่กลับเข้าเมือง พร้อมกับประโคมดนตรี และร้องรำทำเพลง เป็นที่สนุกสนาน
ตอนกลาง คืน ในตัวเมืองจะจัดให้มีมหรสพ การเล่นต่าง ๆ ผู้คนต่างเบียดเสียดกันเข้ามาดูงานจนแน่นขนัดทั้ง 4 ปากประตู หลวง ทั้งยังมีการเล่นไฟจุดประทัดเสียงดังกึกก้องประหนึ่งว่าเมืองจะแตก


ของดีกรุงสุโขทัย
ศาลพระแม่ย่า
















พระแม่ย่า นั้น สันนิษฐานว่าคือ พระขพุงผี ดังที่กล่าวไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1
พระ แม่ย่าเป็นเทวรูปหิน สลักจากหินชนวน สูงประมาณเมตรเศษ ประทับยืนทรงพระภูษา แต่ไม่ทรงฉลองพระองค์ เดิมประดิษฐาน อยู่ ณ เขาแม่ย่า อยู่ห่างจากเมืองเก่าสุโขทัยประมาณ 7 กม.เศษ รูปลักษณะของเทวรูปพระแม่ย่านั้นเป็นสตรี มีนามว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีอันประเสริฐ หรือ เทพยดาอันประเสริฐ
ใน ปี พ.ศ. 2458 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับสั่งให้อัญเชิญพระแม่ย่า มาไว้บนศาลากลาง (ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว) และต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จังหวัดสุโขทัย จึงได้สร้างศาลพระแม่ย่าขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัด และอัญเชิญพระแม่ย่ามาประดิษฐานไว้
เตาทุเรียงสุโขทัย



เป็นเตาก่อด้วยอิฐ กว้าง 4-6 ศอก ยาว 10-12 ศอก บางเตามีขนาดเล็ก ขุดเป็นหลุมลึกลงไปในดินครึ่งหนึ่ง และก่อสูงพ้นดิน ครึ่งหนึ่ง ข้างเตาด้านในเรียงด้วยอิฐเป็นวงโค้ง ลักษณะของเตาแบ่งออกได้เป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นที่สำหรับปล่องไฟ
ตอนที่ 2 เป็นที่สำหรับเรียงเครื่องปั้นดินเผาในเตา
ตอนที่ 3 เป็นที่สำหรับใส่ฟืนสุมไฟข้างหน้า
เตาทุเรียงสุโขทัย ตั้งเรียงรายอยู่รอบคูเมือง ซึ่งเป็นฐานกำแพงเมืองสุโขทัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มีทั้งหมด 49 เตา
สรีดภงส์
















ได้มีการสร้างสรีดภงส์ (ทำนบกั้นน้ำ หรือทำนบพระร่วง) เพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งมีการสำรวจพบว่า มีการทำทำนบเชื่อมระหว่างเขา เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดมหึมาถึง 7 แห่ง โดยตั้งอยู่ในทิศทางต่าง ๆ รอบเมืองสุโขทัย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างและโบราณวัตถุ ที่เป็นระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมในสมัยสุโขทัย
ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 การสร้างทำนบกั้นน้ำนี้ ได้ทำเป็นแนวคันดินเชื่อมระหว่าง เขากิ่วอ้ายมา และเขาพระบาทใหญ่ กั้นน้ำไว้ หน้าทำนบปูด้วยหินใหญ่โดยตลอด มีฝายน้ำล้น และท่อระบายน้ำอยู่ทางใต้ทำนบ มีลำรางระบายน้ำส่งเข้าตัวเมือง โดยมีคลองทั้งที่ขุดขึ้นและเป็นธรรมชาติ ต่อเข้ากับลำรางนี้ นำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกนอกเมือง ส่วนในเมืองมี คลองเสาหอ แยกน้ำจากลำรางไปเก็บไว้ในสระน้ำขนาดใหญ่ตามวัดวาอาราม เช่น วัดตระพังทอง วัดตระพังเงิน วัดสระศรี และ วัดตระพังสอ เป็นต้น
ขดารหินมนังษีลาบาตร    (พระแท่นมนังคศิลา)
















ตามหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงการสร้าง ขดารหินมนังษีลาบาตรไว้
ลักษณะ ของขดารนี้ เป็นขดารหินขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นหินอ่อนสีเขียวอมเทา ชนิดเดียวกับหินที่ทำหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 กว้างสำหรับขนาดพระสงฆ์ขึ้นนั่งขัดสมาธิเรียงสองได้สี่รูป หนา 5.5 นิ้ว ส่วนความกว้างและยาว ทั้ง 4 ด้าน ไม่เท่ากัน และที่ส่วนหนา โดยตลอดทั้งสี่ด้านแกะสลักเป็นลวดลายงดงาม
ขดาร หินมนังษีลาบาตร หรือ พระแท่นมนังคศิลา นี้ ยังใช้เป็น " อาสน์สงฆ์ " สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษา ระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร นั่งสวดธรรมแก่อุบาสก ในวันพระของทุกเดือน
วัดในพระพุทธศาสนา
วัดมหาธาตุ
















เป็นกลุ่มโบราณสถาน ขนาดใหญ่  มีวัดที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองสุโขทัย ภายในมีเจดีย์รายแบบต่าง ๆ ซุ้มคูหา วิหาร โบสถ์ สระน้ำ และกำแพงแก้ว เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญดาราม สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตามศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม  มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันงาม" และถือเป็นจุดศูนย์รวมทั้งด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย
เจดีย์มหาธาตุ   มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์รูปดอกบัวตูม และเป็นเจดีย์ประธานของวัด รอบเจดีย์มีปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง 4 ทิศ และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกา ตรงมุมอีก 4 องค์ ฐานชั้นล่างมีรูปพระสาวกปูนปั้น เดินพนมมือประทักษิณ ด้านหน้ามีวิหารสูง ทิศตะวันออกมีวิหารใหญ่เสาเป็นศิลาแลงแท่งกลม แบ่งเป็นเสา 5 ห้อง 6 แถว  4 ห้อง 4 แถว และ 2 ห้อง 1 แถว ลดหลั่นกัน  วิหารใหญ่นี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อสำริด คือ พระศรีศากยมุนี ซึ่งสร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พ.ศ. 1905 จนกระทั่งในสมัย ร.1 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม  ส่วนทิศเหนือและทิศใต้ มีพระอัฎฐารศ สูง 9 เมตรเศษ
วัดตระพังทอง
















ภายในกำแพงเมือง ด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่แห่งหนึ่งเรียกว่า ตระพังทอง และตรงกลางเป็นเกาะ เป็นที่ตั้งของกลุ่มโบราณสถาน คือ วัดตระพังทอง มีเจดีย์เป็นรูปทรงกลมแบบลังกา ฐานก่อด้วยศิลาแลง องค์ระฆังก่อด้วยอิฐ มีโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทศิลาสีเทาปนดำ ซึ่งเดิมได้ประดิษฐานอยู่ที่เขาสุมนกูฎ (เขาพระบาทใหญ่) ตามหลักฐานศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ พุทธศักราช 1912 หลักที่ 8 ต่อมา พระราชประสิทธิคุณ วัดราชธานี จีงได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่วัดตระพังทอง
วัดศรีสวาย
















ตั้งอยู่ในกำแพง เมืองด้านทิศใต้วัดมหาธาตุ เดิมเป็นเทวสถาน สร้างก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนา เจดีย์ลักษณะเป็นพระปรางค์ 3 ยอด ฐานก่อด้วยศิลาแลง ตอนบนก่อด้วยอิฐ ด้านหน้าเป็นวิหารสองตอน มีกำแพงแก้ว ด้านหลังในกำแพงวัดมีคูน้ำ และมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
สมเด็จกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า "เดิมวัดนี้คงเป็นเทวสถาน ร.6 ทรงสันนิษฐานไว้ว่า" เดิมคงเป็นโบสถ์พราหมณ์ ใช้ในพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) และคูน้ำล้อมรอบด้านหลัง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "สระลอยบาป"  นั้น ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่า  ทุกคนมีบาป และจะต้องทำพิธีล้างบาปกันครั้งหนึ่งในทุกปี และต่อมาเมื่อชาวไทยเข้าครองสุโขทัย จึงเปลี่ยนเป็นวัดทางพุทธศาสนา
วัดชนะสงคราม
















เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีเจดีย์ประธานเป็นลักษณะทรงกลมแบบลังกา ก่ออิฐ มีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายทรงวิมาน ปรากฏตามพระราชนิพนธ์ใน ร.6 เรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" เมื่อปีพุทธศักราช 2451 กล่าวถึง  วัดชนะสงครามไว้ว่า "แต่ทางทิศเหนือ วัดมหาธาตุ วัดที่เรียกกันว่า วัดชนะสงคราม นั้น มีสถานอันหนึ่งซึ่งราษฎรเรียกว่า ศาลกลางเมือง"
วัดสระศรี
















เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ บนเกาะกลางสระใหญ่กลางเมือง ที่เรียกว่า " ตระพัง ตระกวน" ลักษณะเจดีย์ประธานเป็นรูปทรงกลมแบบลังกา ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ขนาดเล็ก แบบศรีวิชัยผสมลังกา เจดีย์รายขนาดเล็ก โบสถ์ และสระน้ำขนาดใหญ่ โดยด้านหน้าเจดีย์มีพระวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ด้านหน้าวิหารเป็นพระอุโบสถ ตั้งอยู่กลางเกาะเล็ก ๆ ส่วนทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธาน มีเจดีย์ทรงลังกาผสมศรีวิชัย
วัดสรศักดิ์
















เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดเล็ก  ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของวัดซ่อนข้าว เจดีย์ประธานเป็นรูปทรงกลมแบบลังกา ที่ฐานมีหัวช้างและสองขาหน้า  รวม 25 เชือก โผล่ออกมาล้อมรอบฐานเจดีย์ ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ด้านหน้าเป็นวิหาร 5 ห้อง ก่อด้วยอิฐ ส่วนเสาวิหารทำด้วยหินทรายทั้งต้น นำมาโกลนเป็นเสาต่อกันเป็นท่อน ๆ ลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากวัดอื่นที่นิยมใช้ศิลาแลงเป็นพื้น
ตาม ศิลาจารึกหลักที่ 9 ก มีข้อความกล่าวถึงวัดสรศักดิ์ว่า นายอินทร สรศักดิ์ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ขอพระราชทานที่ดินเพื่อสร้างวัดนี้ จึงมีชื่อว่า วัดสรศักดิ์ "
วัดพระพายหลวง
















เป็นกลุ่มโบราณสถาน ขนาดใหญ่ อยู่นอกเมืองสุโขทัย สร้างก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ตั้งอยู่กลางแนวคูน้ำล้อมรอบ 2 ชั้น คูน้ำชั้นนอกเป็นคูน้ำขนาดใหญ่ และคูน้ำชั้นในมีขนาดเล็ก เดิมเป็นเทวสถานของขอม ด้วยพบชิ่นส่วนเทวรูป และฐานศิวลึงค์  ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน
ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 18 เนื่องจากพบพระพุทธรูปแกะหินสลักปางนาคปรก และด้านหน้าวิหารพบรูปสลักหินองค์ใหญ่ ปางสมาธิ เฉพาะส่วนขององค์พระที่มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์  ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้าง จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นวัดศาสนาพุทธ ฝ่ายหินยาน เมื่อได้รับอิทธิพลศาสนาแบบลังกาวงศ์ นับเป็นวัดที่ใหญ่และสำคัญรองลงมาจากวัดมหาธาตุ เจดีย์ประธานเป็นปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยศิลาแลงและฉาบด้วยปูนปั้น ประกอบด้วยวิหาร เจดีย์สี่เหลี่ยม และระเบียงคด มณฑป วิหารพระนอน และเจดีย์ราย  สันนิษฐานว่า เป็นศูนย์กลางของศาสนาที่มีมาก่อนการตั้งวัดมหาธาตุ รวมทั้งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในด้านการศึกษาด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม สมัยก่อนสุโขทัย และการก่อสร้างต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนมาหลายยุคหลายสมัย
วัดศรีชุม
















เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ในสมัย สุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองสุโขทัย ปรากฏตามหลักฐาน ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 พุทธศักราช 1835
วัด นี้เป็นวัดที่แปลกกว่าวัดอื่น ด้วยหากมองเพียงภายนอกจะเป็นแต่มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงระฆังคว่ำหรือรูปโดม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่เพียงองค์เดียว คือ พระอจนะ ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์สามารถพูดได้
แต่แท้ที่จริงแล้ว ประตูทางเข้าด้านหลังพระพุทธรูปจะเจาะเป็นช่องสูง มีทางเดินขึ้นไปจนเกือบถึงยอดหลังคามณฑป ซึ่งเป็นด้วยกุศโลบายของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ที่ทรงพระปรีชาสามารถปลุกปลอบใจทหาร และสามารถบังคับบัญชา ให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนี่งใจเดียวกัน โดยใช้ผนังด้านข้างขององค์พระอจนะที่มีช่องเล็ก ๆ และให้คนเข้าไปในอุโมงค์ แล้วพูดออกมาเสียงดัง ๆ ผู้ที่อยู่ในวิหารจึงนึกว่าพระอจนะพูดได้ และทั้งช่องอุโมงค์ด้านซ้ายและขวาจะบรรจบกันเข้าเป็นยอดแหลม ผนังมณฑปทำเป็น 2 ชั้น
ภายในช่อง อุโมงค์มณฑป ด้านซ้ายกว้างประมาณ 50 ซม. บนเพดานมีภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินชนวน ประมาณ 50 ภาพ แสดงเกี่ยวกับเรื่องชาดกต่าง ๆ บรรยายไว้เป็นอักษรไทยสมัยสุโขทัย และมุมด้านขวาขององค์พระยังมีรอยพระพุทธบาทสลักไว้สวยงาม ส่วนอุโมงค์ช่องขวา ได้ปิดทับไปแล้ว
นอก จากนั้น ยังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิ์พงศ์ (จาด) กล่าวไว้ว่า เมื่อพระนเรศวรเสด็จขึ้นมา ปราบกบฎเมืองสวรรคโลก ในปี พ.ศ. 2128 นั้น ก่อนจะยกไปเมืองสวรรคโลก ได้แวะพักพลที่ตำบลฤาษีชุม เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่า คือวัดศรีชุม  นั่นเอง
วัดอรัญญิก
















ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศ ตะวันตก บริเวณที่ราบเชิงเขาในป่ากลางอรัญญิก ระหว่างวัดสะพานหิน กับ วัดพระบาทน้อย ประกอบด้วย กุฎิสงฆ์ โบสถ์ วิหารเล็ก ร้านบาตร เจดีย์ราย บ่อน้ำ และถ้ำ
กุฎิสงฆ์มี จำนวน 8 หลัง ก่อด้วยหินเล็ก ๆ คล้ายซุ้ม เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์จำวัดและวิปัสสนา บริเวณเขาสูง มีถ้ำซึ่งเป็นการ สกัดหินเข้าไปในเขา 3 แห่ง เพื่อให้สำหรับพระสงฆ์จำวัด คือ ถ้ำมะขามป้อม ถ้ำพระยาน้อย และถ้ำพระ  ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช 1835
วัดเชตุพน
















เป็นกลุ่มโบราณสถาน ที่ใหญ่ที่สุดของโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โบราณสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด มีคูน้ำ 2 ชั้น ล้อมรอบ เว้นแต่โบสถ์ซึ่งแยกออกไปอยู่ต่างหาก ทางใต้นอกคูน้ำ กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย มณฑปพระสี่อิริยาบท เจดีย์ทรงมณฑป
วิหาร เจดีย์ราย กำแพง คูน้ำ
มณฑปพระสี่ อิริยาบท เป็นโบราณสถานหลักของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ทางด้านทิศตะวันออก  พระพุทธรูปประทับยืนทางด้านทิศตะวันตก  พระพุทธรูปประทับนั่งทางด้านทิศเหนือ และพระพุทธรูปประทับนอนด้านทิศใต้ โดยพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์นี้ ก่อด้วยอิฐ และปูนปั้น
วัด เชตุพน นับเป็นวัดขนาดใหญ่ที่สำคัญอีกวัดหนึ่งของกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งก่อสร้าง เช่น มณฑปที่อิริยาบทขนาดใหญ่ กำแพงหินชนวนขนาดใหญ่ ตลอดจนขนาดของวิหาร สระน้ำ และคูน้ำล้อมรอบ ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทั้งในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เป็นอย่างยิ่ง
วัดสะพานหิน
















ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ  ตามหลักฐานในศิลาจารึก หลักที่ 1 และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเสด็จมานมัสการพระอัฎฐารศ ที่วัดสะพานหินเป็นประจำทุกวันพระ
ทาง เดินขึ้นวัดสะพานหินปูด้วยหินชนวนแผ่นบาง ๆ ซ้อนเรียงกันเป็นแนวสูง และปูเรียงไปตามเชิงเขาด้านทิศตะวันออก จนถึง บริเวณลานวัดบนยอดเขา บนลานมีวิหารก่อด้วยอิฐ เสาเป็นศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง
ด้านหลังมีผนังก่ออิฐหนา มีพระพุทธรูปปูนปั้น หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ขวา  สูง 12.50 เมตร เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" และมีฐานเจดีย์ราย 4-5 ฐาน ระหว่างทางขึ้นทางซ้ายมือ มีเจดีย์แบบดอกบัวตูมองค์เล็ก 1 องค์ ทางทิศเหนือ


ศิลาจารึก
















จารึกหลักที่ 1
ร.4 ขณะดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ และทรงเพศบรรพชิต ได้เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่เมืองสุโขทัยเก่า เมื่อ พ.ศ. 2376 และทรงพบจารึกหลักที่ 1 แห่งเดียวกับพระแท่นมนังคศิลา คือ เนินปราสาท ตรงข้ามวัดมหาธาตุ
ศิลาจารึกนี้ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า จารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งได้จารึกขึ้นในปี พ.ศ. 1835
ภาษาที่ใช้และตัวอักษร เป็นภาษาไทย
ตอนที่ 1  ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-18 เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง โดยใช้คำว่า "กู" เป็นพื้น ดังปรากฏหลักฐาน ในศิลาจารึก คือ
"พ่อ กูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูเชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้าย ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก..."
ตอน ที่ 2  ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 19 ถึงด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 รวม 90 บรรทัด เป็นการพรรณนาถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง เกี่ยวกับสภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย พระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา การสร้างพระแท่นศิลาบาตร การประดิษฐ์ลายสือไท แต่ไม่ได้ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้คำว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เช่น "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง...ลายสือไทนี้จึงมีขึ้นเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ "
ตอน ที่ 3  ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 จนถึงบรรทัดสุดท้าย รวม 16 บรรทัด เป็นการกล่าวสรุปสรรเสริญ และยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รวมทั้งกล่าวถึงอาณาเขตของอาณาจักร เมืองสุโขทัย
ในตอนนี้ ตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ด้วย  มีพยัญชนะลีบกว่า และสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง
















สำหรับศิลาจารึกหลักอื่น ๆ มีที่มาดังนี้
หลักที่ 2  พบที่วัดศรีชุม กล่างถึงประวัติพระนัดดาพ่อขุนผาเมือง
หลักที่ 3  มีผู้นำไปไว้ที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงเรื่องของพระเจ้าลิไท และสภาพกรุงสุโขทัย
หลักที่ 4  พบที่เนินปราสาทตรงข้ามวัดพระศรีมหาธาตุ กล่าวถึงการออกผนวช  ที่วัดป่ามะม่วง
หลักที่ 5  พบที่วัดป่ามะม่วง กล่างถึงเรื่องพระเจ้าลิไทขึ้นครองราชย์
หลักที่ 6  พบที่วัดป่ามะม่วง กล่างถึงเรื่องการผนวชพระเจ้าลิไท
หลักที่ 7  ไม่ปรากฏที่พบ เรียกกันว่า จารึกวัดพระมหาธาตุ-วัดพระศรี
หลักที่ 8  พบบนเขาพระบาทใหญ่ (เขาสุมนกูฎ) กล่าวถึงเรื่องการราชาภิเศกพระเจ้าลิไท
หลักที่ 9  ไม่ปรากฎที่พบ เรียกกันว่า จารึกวัดป่าแดง
หลักที่ 11  พบที่ยอดเขากบ ปากน้ำโพ กล่างถึงประวัติและผลงานของมหาเถรศรีศรัทธา
หลักที่ 38  ไม่ปรากฎหลักฐานที่พบ เนื้อความเป็นกฎหมายในสมัยสุโขทัย
















หลักที่ 45  พบที่หน้าวิหารกลางวัดมหาธาตุ กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานต่อกันของเจ้านายกรุงสุโขทัย และความสัมพันธ์ระหว่าง สุโขทัยกับน่าน
หลักที่ 64  พบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน กล่าวถึงกลุ่มเมืองทางด้านเหนือของกรุงสุโขทัย
หลักที่ 76 พบที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ และวัดเชียงมั่น
หลัก ที่ 93  พบที่วัดอโศการาม นอกเมืองสุโขทัยเก่า พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณอัครราชมเหสี และพระราชโอรส นำพระบรมธาตุที่ได้จากลังกา มาประดิษฐานไว้ที่วัดอโศการาม
หลักที่ 102  พบที่วัดตระพังช้างเผือก สุโขทัย เนื้อความขาดหายไปมาก
หลักที่ 106  พบที่วัดช้างล้อม สุโขทัย กล่าวถึงการบวช การสร้าง และบูรณะวัด สมัยพระเจ้าลิไท 






ประวัติการปกครองสมัยอยุธยา
 ารปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา


การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาลักษณะ การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา


ระบบการปกรองของกรุงศรีอยุธยาตอน ต้น
ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และจากขอมนำมาปรับปรุงใช้ ลักษณะการปกครองสมัยนั้นแบ่งเป็น

1. การปกครองส่วนกลาง
คือการปกครองภายในราชธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแบบแผนที่ได้รับมาเรียกว่า “จตุสดมภ์” ซึ่งประกอบด้วย

1.1 เมืองหรือเวียง
มีขุนเมือง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปกครองดูแลท้องที่และราษฎร ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำความผิด

1.2 วัง
มีขุนวังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ของราษฎรด้วย

1.3 คลัง
มี ขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เก็บและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินอันได้จากอากร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย

1.4 นา
มีขุนนา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับทหาร ออกสิทธิที่นา และมีหน้าที่เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง คือใครทำนาได้ก็ต้องแลกเอาเข้ามาส่งฉางหลวง

2. การปกครองส่วนภูมิภาค
คือการปกครองพระราชอาณาเขต กรุงศรีอยุธยาได้แบบแผนมาจากครั้งกรุงสุโขทัย โดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.1 หัวเมืองชั้นใน
มี กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ เรียกว่า เมืองลูกหลวง ซึ่งอยู่ห่างจากราชธานี เป็นระยะทางเดิน 2 วันทิศเหนือ คือ เมืองลพบุรีทิศใต้ คือ เมืองพระประแดงทิศตะวันออก คือ เมืองนครนายกทิศตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรีนอกจากนั้น ยังมีหัวเมืองชั้นในตามรายทางที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูกหลวง เช่น เมืองปราจีน เมืองพระรถ(เมืองพนัสนิคม) เมืองชลบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เป็นต้น และถ้าเมืองใดเป็นเมืองสำคัญก็จะส่งเจ้านายจากราชวงศ์ออกไปครอง

2.2 เมืองพระยามหานคร หรือหัวเมืองชั้นนอก
คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ห่างจากหัวเมืองชั้นในออกไปทิศตะวันออก คือ เมืองโคราชบุรี(นครราชสีมา) เมืองจันทบุรีทิศใต้ คือ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองถลางทิศตะวันตก คือ เมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย เมืองเชียงกราน

2.3 เมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
เมื่อ ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สันนิษฐานว่า คงจะมีแต่เมืองมะละกากับเมืองยะโฮร์ทางเแหลมมลายูเท่านั้น ส่วนกัมพูชานั้นต้องปราบกันอีกหลายครั้ง จึงจะได้ไว้ในครอบครอง และในระยะหลังต่อมาสุโขทัยก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วยเมือง ประเทศราช มีเจ้านายของตนปกครองตามจารีตประเพณีของตน แต่ต้องกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้ง




การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 1991 - 2231การ ปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดีการปกครองส่วนภูมิภาคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2) หัวเมืองชั้นนอก (เมือง พระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3) หัวเมืองประเทศราช ยัง ให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
span




การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัย อยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง
ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ได้ แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้
- หัวเมืองฝ่ายเหนือ ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
- หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
- หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง 



ประวัติการปกครองสมัยธนบุรี
การเมืองการปกครอง
      สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชภารกิจที่ต้องทรงกระทำอย่างเร่งด่วน คือ การสร้างความมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความปลอดภัย การกินดีอยู่ดีและการฟื้นฟูบ้านเมืองให้อยู่ในภาวะปกติโดยเร็ว อย่างไรก็ดีรัชกาลของพระองค์มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปี พระองค์ไม่มีโอกาสที่ปรับปรุงกิจการบ้านเมืองได้มากนักคงดำเนินการแก้ไข เหตุการณ์เฉพาะหน้าที่สำคัญ ๆ เท่านั้น คือ ทรงรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น เนื่องจากเกิดสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ราษฏรได้อพยพหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ก็แยกตัวเป็นอิสระ หัวเมืองใดมีกำลังมากก็ตั้งตนเป็นใหญ่ ซึ่งมีด้วยกัน 5 ชุมนุม ดังนี้
แผนที่แสดงที่ตั้งของ ๕ ชุมนุม ในสมัยธนบุร
แผนที่แสดงที่ตั้งของ ๕ ชุมนุม ในสมัยธนบุรี

     1. ชุมนุมเจ้าพระฝาง มีเจ้าพระฝางเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองฝาง ทางภาคเหนือ
     2. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก มีเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองพิษณุโลก ทางภาคเหนือ
     3. ชุมนุมพระยานครศรีธรรมราช มีเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นหัวหน้าอยู่ทีเมืองนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้
     4. ชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ มีกรมหมื่นพิพิธเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองนครราชสีมา ทางภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
     5. ชุมนุมพระยาตาก มีพระยาตากเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองจันทบุรี ทางหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก

แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทยสมัยธนบุรี รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทยสมัยธนบุรี ( ดูภาพขยาย คลิกที่รูป)
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕)

          สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมคนที่แตกฉานซ่านเซ็นได้ เข้ามารวมกันที่กรุงธนบุรีและตามถิ่นที่อยู่เดิม เพื่อเป็นกำลังของบ้านเมือง พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ชุมนุมแรกที่ทรงไปปราบ คือชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมที่เข้มแข็งที่สุด แต่ปราบไม่สำเร็จ เพระสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกกระสุนปืนของข้าศึกบาดเจ็บ หลังจากนั้นทรงยกกองทัพไปชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ และชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้สำเร็จตามลำดับ ชุมนุมสุดท้าย คือชุมนุมเจ้าพระยาฝาง เป็นชุมนุมที่รวมเอาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกไว้ด้วยเนื่องจากเจ้าพระยา พิษณุโลกถึงแก่กรรม จึงชุมนุมที่มีกำลังมาก ทรงยกกองทัพไปปราบ ใน พ.ศ. 2313 และปราบสำเร็จ
การป้องกันและขยายอาณาเขต ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชได้แล้ว พม่าได้ส่งกองทัพเข้ามาปราบปรามธนบุรี ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้กรุงธนบุรีเข้มแข็งและมีอำนาจ แต่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็สามารถป้องกันได้ สงครามครั้งสำคัญระหว่างกรุงธนบุรีกับพม่า ได้แก่ศึกพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม ศึกอะแซหวุ่นกี้
ในด้านการขยายอาณาเขตนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ ฟื้นฟูอำนาจของไทยในเขมร ทั้งนี้เพราะเขมรเคยเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่อยุธยา แต่เมื่ออยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 เขมรก็เป็นอิสระ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกทัพไปตีเขมร ทรงตีเขมรได้ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองค์เป็นกษัตริย์ปกครองเขมร ต่อมาเขมรเกิดจลาจล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสิงห์ไปปราบเขมร แต่กองทัพยังไปไม่ถึงเขมร พอดีทราบข่าวว่าเกิดการจลาจลที่กรุงธนบุรีทัพไทยจึงต้องยกกองทัพกลับ

     ลักษณะการปกครองส่วนใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงมีรูปแบบเหมือนสมัยอยุทธยาตอนปลายซึ่งยึดหลักการปกครองตามแบบที่สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถทรงวางไว้คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

     1. การปกครองส่วนกลาง

     พระมหากษัตริย์พระราชอำนาจสูงสุด มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย และเสนาบดี 4 กรม รับผิดชอบดูแลช่วยเหลือข้าราชการแผ่นดิน ได้แก่
           1.1 สมุหกลาโหม มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลหัวเมืองผ่ายใต้และกิจการทหาร

           1.2 สมุหนายก รับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และกิจการพลเรือน โดยมีจตุสดมภ์ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดี 4 กรม เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ดังนี้

เสนาบดีกรมเวียง(นครบาล)        มีหน้าที่ปกครองท้องที่ และ รักษาความสงบเรียบร้อย
เสนาบดีกรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)    มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎร
เสนาบดีกรมคลัง (โกษาธิบดี)      มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรและการค้าขายกับต่างประเทศ
เสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ)    มีหน้าที่ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา




     2. การปกครองส่วนภูมิภาค      แบ่งออกเป็น
          1. หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตวา) ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี มีผู้ปกครอง เรียกว่า ผู้รั้งเมือง เป็นผู้ช่วยพระมหากษัตริย์ในการปกครอง ได้แก่ เมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก

          2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป เรียกว่า เมืองพระยามหานคร มีผู้ปกครองเรียกว่า เจ้าเมือง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่ตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบใน ราชการศึกสงครามออกไปปกครอง โดยจะแบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมืองออกเป็น เมืองชั้นนอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองออกไปจากเดิม

          3. เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่มีประชาชนไม่ใช่คนไทย แต่อยู่ในอำนาจของไทย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นชนพื้นเมืองให้ปกครองกันเอง โดยให้เป็นอิสระในการปกครอง แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวงและต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการแก่เมืองหลวง ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร และหัวเมืองมลายู 


การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์















พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ

 
พระราชวังเดิม
 
 

 
 
วัดอรุณราชวราราม
 
 
 
กรุงเทพมหานคร
 
 
กฎหมาย
 
 
ตราบัวแก้ว




 
รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)




พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี
  • พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
  • ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
  • ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
  • กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์  กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย
เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บริเวณ เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง
  • บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
  • บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

  • การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
    • สมุหกลาโหม มี อำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
    • สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
    • เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
          -กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
          -กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
          -กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
          -กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว
  • การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง
    • หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้
          -หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ "ผู้รั้ง"เป็นผู้ปกครอง
          -หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
    • หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
    • หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย
      เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า
  • การปกครองประเทศราช
    • ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อ เมืองหลวงมีศึกสงคราม
    • ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มี ทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล
  • กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง
  • กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล
การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




ตราแผ่นดิน




พระราชกิจจานุเษกษา ซึ่งออกครั้งแรกสมัย ร .4




จอหน์เบาริง






รัชกาลที่ 5




ตึกบัญชาการกระทรวงเกษตรหลังแรก  พ.ศ.2543-2499


 
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
 
 

 
 
คณะผู้ปราบกบฏ รศ.130
 
 
ร.5 ทรงทรงประกอบพระราชพิธีเปิดศาลสถิตยุติธรรม
 
 
การพิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ในสมัย ร.๕
 
 
รัชกาลที่ 6




การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรง มีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ
  • ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยา การของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้ 
  • การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ
โยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม
ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้
  • การผ่อนหนักเป็นเบา หมาย ถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก
  • การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่
  • การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย
    เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ
  • การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป
    รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง
การพัฒนาทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินในปี 2417 ดังต่อไปนี้
  • การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจำนวน 12 คน ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการแผ่นดินแด่พระมหากษัตริย์
  • การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์
  • ในปี พ.ศ.2427(ร.ศ.103) ได้มีเจ้านายและขุนนางข้าราชการกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก ได้เสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินแด่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชี้ให้เห็นว่าการจะรักษาเอกราชของชาติได้นั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย แต่ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องทำการปฏิรูปการปกครองเสียก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์โรปการเสด็จไปศึกษาและดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้ง คณะเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษและหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปฏิรูปการ ปกครองขึ้นในประเทศไทย
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
  • การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง "เสนาบดีสภา"และจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหม, นครบาล, วัง, เกษตรพานิชการ, พระคลัง, การต่างประเทศ, ยุทธนาธิการ, โยธาธิการ, ธรรมการ, ยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
  • การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดน ต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า "มณฑล"โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
    • การ ปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล
    • การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
    • การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ "สุขาภิบาล"ในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น
ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
  • ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
  • รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล
  • ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดี ขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบ ตะวันตก โดยมอบหมายให้  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ
การปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6
  • การเกิดกบฏ "ร.ศ.130" ในปี พ.ศ.2454 (ร.ศ.130) ซึ่งประกอบด้วยนายทหารและพลเรือน ซึ่งเรียกตัวเองว่า คณะพรรค ร.ศ.130 ต่อมาเรียกว่า ร.ศ.130 โดยมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ (ขุนทวยหาญพิทักษ์) เป็นหัวหน้า สาเหตุสำคัญของกลุ่มกบฏนี้ คือ ต้องการให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าโดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสมบูรณาญา สิทธิราชเป็นแบบประชาธิปไตย โดยกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ต้องประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
  • การจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย หลังเกิดกบฏ ร.ศ.130 รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งเมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นชื่อว่าดุสิตธานี การปกครองในเมืองดุสิตธานีก็ดำเนินรอยตามแบบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้ง "นครภิบาล" ซึ่งเปรียบได้กับ "นายกเทศมนตรี"นคราภิบาลจะต้องได้รับการเลือกตั้งจากเชษฐบุรุษมาก่อน เชษฐบุรุษ เปรียบได้กับ สมาชิกเทศบาล ซึ่งจะต้องได้รับการเลือกจาก "ทวยนาคร" หรือปวงประชานั้นเอง
การปฏิรูปการปกครองในส่วนกลาง
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์และทรงยุบกระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม ส่วนอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ ยังคงเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 5
การปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาค
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้น คือ มณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งมี 3 หัวเมือง ได้แก่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธ์ และเพื่อเป็นการประหยัด พระองค์ได้รวมมณฑล2-3มณฑลรวมกันเป็นภาค เรียกว่า "มณฑลภาค" เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวง โดยให้ข้าราชการชั้นสูงเป็นอุปราชประจำมณฑลภาค งานใดที่มณฑลภาคสามารถจัดการได้ก็ไม่ต้องส่งถึงกระทรวง
การปรับปรุงการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย ดังเห็นได้จากพระราชกรณียกิจดังต่อไปนี้
  • ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
  • โปรดเกล้าฯให้อภิรัฐมนตรีสภา ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง "สภากรรมการองคมนตรี" เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือขอราชการซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษา และที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ปรึกษา
  • ทรงจัดตั้งเสนาบดีสภา เพื่อเตรียมคนให้รับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะให้เหมือนคณะรัฐมนตรีแบบตะวันตก เช่นเดียวกับเสนาบดีสภาในสมัย ร.5
  • ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปเทศบาล
  • พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิสารวาจา และนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ คิดร่าง "รัฐธรรมนูญ" ตามพระราชดำริ
    แต่ขณะเดียวกันแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพระราชทานต่อปวงชนชาวไทยนั้น ได้รับการคัด ค้านจากอภิรัฐมนตรีสภา เพราะเกรงว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้การเตรียมการต้องชะงักลง เป็นผลให้คณะราษฏรเป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด
  • การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และผลกระทบ
ในเดือนมีนาคม 2489 นายปรีดี พยมยงศ์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายปรีดี เข้าบริหารงานของประเทศได้ไม่ทันไรก็เกิดปัญหาร้ายแรงของประเทศ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เนื่องจากต้องอาวุธปืน รัฐบาลนายปรีดี ซึ่งได้ขอความเห็นชอบต่อสภาฯ ในการกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไป
ปัญหาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องอาวุธปืนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ดำเนินการสอบสวนแต่ก็ไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของปัญหานั้นได้ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ ประกอบกับประชาชนและพรรคฝ่ายค้านต่างก็พากันตำหนิรัฐบาลอย่างรุนแรง นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดขอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งแทน เมื่อเดือน สิงหาคม 2489